Cross Border E-commerce โอกาสใหม่สำหรับผู้ประกอบการไทยที่อยากส่งออกไปจีน

คำว่า “Cross Border E-commerce หรือ การซื้อสินค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน” สำหรับผู้ประกอบการไทย อาจจะไม่รู้จักและไม่เข้าใจโมเดลธุรกิจนี้มากนัก เนื่องจากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ส่งออกจากบ้านเราส่วนมากเป็นวัตถุดิบต้นทาง (Raw material) เป็นหลัก เช่น พืชผักผลไม้สด/แปรรูป วัตถุดิบจากสัตว์และธรรมชาติ เพื่อเอาไปเป็นส่วนประกอบในการผลิตสินค้าตัวเอง และสินค้าไทยที่มีชื่อเสียงต่างๆ มักถูกคนจีนซื้อเหมาร้านออฟไลน์ ตั้งแต่ในประเทศไทยเพื่อขนไปขายต่อที่ประเทศจีน จึงทำให้การซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ข้ามพรมแดนไทย-จีน ยังไม่ได้เติบโตเท่าไหร่

 

Cross Border E-commerce คืออะไร?

Cross Border E-commerce พูดง่ายๆ ก็คือ การซื้อ-ขายสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ข้ามพรมแดน และเกิดการนำเข้าส่งออกผ่าน third party platform ของต่างชาติที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก เช่น Amazon, eBay, Alibaba, Lazada Tmall และ Taobao ซึ่งมีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ใช้แพลตฟอร์มดังกล่าว ยิ่งในยุคปัจจุบันเราจะพบว่า มีผู้ประกอบไทยจำนวนมากนิยมนำเข้าสินค้าใหม่ๆ ผ่านการสั่งซื้อบน Cross Border E-commerce ของจีน แล้วนำไปใส่ Branding ทีหลัง เนื่องจากราคาสินค้าและต้นทุนการผลิตถูกกว่าผลิตเองในประเทศไทย

Cross Border E-commerce
แพลตฟอร์มCross Border E-commerce – Tmall

หลายๆ คนอาจจะคิดว่า “ต้องเป็นแบรนด์ระดับ international หรือแบรนด์ภายในประเทศที่สร้างแพลตฟอร์มเท่านั้นหรือเปล่า ถึงจะสามารถเปิดร้านค้าบนแพลตฟอร์ม Cross Border E-commerce ได้?” ไม่จริงเลย แบรนด์ไทยก็สามารถเข้าไปเปิดหน้าร้านค้าได้ เพียงแค่ต้องทำความเข้าใจกระบวนการเตรียมเอกสารและกฎเกณฑ์ข้อบังคับต่างๆของจีน มีความพร้อมในการผลิตเพื่อรองรับความต้องการตลาดขนาดใหญ่ รวมไปถึงการมีทีมงานสำหรับการทำ Marketing/E-commerce วางแผนวิเคราะห์กลยุทธ์การขายสินค้าของตัวเอง

 

กระบวนการส่งออกแบบ Cross Border E-commerce

Cross Border E-commerce
กระบวนการตั้งแต่ต้น-ปลายทางของ Cross Border E-commerce

อย่างที่ทราบกันดีถึงผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ส่งผลให้ E-commerce ทั่วโลกเติบโตอย่างรวดเร็ว ภายหลังยังทำให้บทบาทของ Cross Border E-commerce มีความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ประเทศจีน” มหาประเทศแห่งการทำแพลตฟอร์มและธุรกรรมออนไลน์ จากช่วงวิกฤติดังกล่าวทำให้ Alibaba ผู้ประกอบการ Cross Border E-commerce รายใหญ่ของโลกคาดว่า สามารถกวาดเงินในปี 2562 มูลค่าราว 4 แสนล้านดอลลาร์

 

ข้อดี-ข้อเสียของ Cross Border E-commerce

การส่งออกแบบ Cross Border E-commerce เป็นนโยบายใหม่ที่รัฐบาลจีนเปิดโอกาสเพื่อดึงดูดให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงภายในประเทศมากขึ้น และยังช่วยให้ผู้ประกอบการได้รับประสบการณ์กับตลาดจีนก่อนตัดสินใจขายสินค้าออฟไลน์ระยะยาว

  • ข้อดี ไม่ค่อยมีความซับซ้อนเรื่องเอกสาร ใช้เวลาดำเนินการน้อยกว่า ประหยัดต้นทุนมากว่าการส่งออกแบบปกติ เนื่องจากได้รับการยกเว้นค่าใช้จ่ายบางส่วน เช่น ค่าเช่าโกดังสินค้า (เขตปลอดอากรของศุลกากร) ไม่ต้องเสียภาษีศุลกากร ไม่ต้องขอใบอนุญาตนำ และสินค้าบางประเภทไม่จำเป็นต้องขออย.ก็สามารถขายสินค้าบนแพลตฟอร์ม Cross Border E-commerce ได้เลย

 

  • ข้อเสีย จะต้องจำหน่ายสินค้าเฉพาะบนแพลตฟอร์ม Cross-Border e-Commerce เท่านั้น

 

สินค้าที่ไม่ควรขายบนแพลตฟอร์ม Cross Border E-commerce

  1. สินค้าที่มีความหลากหลายเกินไป

เช่น เสื้อผ้า เนื่องจากจะต้องมีหลายไซซ์ S M L XL หลาย Collection คอยอัพเดตอยู่ตลอดตามเทรนใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น การตลาดที่ความผันผวนสูงตามแนวโน้มกระแสนิยมของผู้บริโภค อาจส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงอีกด้วย

  1. สินค้าที่ไม่จุดเด่น ไม่มีเอกลักษณ์

เช่น อาหารหรือขนมแปรรูปธรรมดาทั่วไป หรือของที่สามารถหาได้ตามห้างทั่วไปในต่างประเทศ เนื่องจากมีแบรนด์ท้องถิ่นครองตลาดอยู่แล้ว ลูกค้าอาจจะยังไม่ไว้วางใจสินค้านำเข้ามากนัก จำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเข้ามาช่วยสร้างจุดขายและความน่าเชื่อถือให้กับสินค้า

  1. ผัก/ผลไม้สด

สินค้าประเภทดังกล่าวไม่สามารถส่งออกแบบ Cross Border E-commerce เนื่องจากเป็นกลุ่มสินค้าเฉพาะ เจ้าของแบรนด์จะต้องมีประจำตัวผู้ส่งออกกับกรมการค้าระหว่างประเทศ และใบอนุญาตต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการส่งออกจากประเทศไทย ทั้งนี้จะต้องยืนยันแสดงตัวตนผู้นำเข้าและเอกสารใบอนุญาตการนำเข้าผลไม้จากฝั่งจีนอีกด้วย

 

โอกาสทองสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการส่งออกรูปแบบใหม่

ปัจจุบัน การค้าในรูปแบบ Cross-Border E-Commerce ของจีน มีการขยายตัวและมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยตัวเลขสถิติปี 2564 ของศุลกากรจีนชี้ว่า การนำเข้า-ส่งออกผ่าน Cross Border E-commerce มีมูลค่าสูงถึง 1.98 ล้านล้านหยวน หรือประมาณ 9.9 ล้านล้านบาท ซึ่งขยายตัวขึ้นร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยเป็นมูลค่าส่งออกจำนวน 1.44 ล้านล้านหยวน หรือประมาณ 7.2 ล้านล้านบาท ขยายตัวขึ้นร้อยละ 24.5 และเป็นมูลค่านำเข้าจำนวน 540,000 ล้านหยวน หรือประมาณ 2.7 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27 ของมูลค่า Cross Border E-commerce ทั้งหมด

 

ภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ยังกล่าวอีกว่า “แนวโน้มการเติบโตของ Cross-Border E-Commerce ในจีน จึงถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับธุรกิจไทยในการขยายตลาดเพื่อส่งออกสินค้ามายังจีนมากขึ้นด้วย โดยผู้ประกอบการสามารถเริ่มต้นจากการศึกษากฎระเบียบและวิธีการเข้าถึงการให้บริการ Cross Border E-commerce ของจีน ตลอดจนรายละเอียดเกี่ยวกับผู้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์ ข้อมูลตลาดออนไลน์ของจีน รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่มาใช้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์”

 

สรุปหัวใจสำคัญของ Cross Border E-commerce

จากการคาดคะเนของศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ตลาด Cross Border E-commerce ของจีนจะยังมีแนวโน้มเติบโตได้อีกมาก และมีการขยายตลาดครอบคลุมพื้นที่ภายในประเทศมากขึ้น โดยมีปัจจัยหนุนสำคัญ ได้แก่ การสนับสนุนของรัฐบาลจีนในการพัฒนาและขยายโครงข่ายโทรคมนาคม ระบบโลจิสติกส์ และการเข้ามามีบทบาทดูแลการซื้อขายออนไลน์

“การเข้าใจพฤติกรรมและความต้องการลูกค้าชาวจีน” จึงเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ ที่สำคัญในการสร้างข้อได้เปรียบทางการตลาด เพื่อสามารถพัฒนาสินค้าของตัวเองให้มีคุณภาพมากขึ้น และยังทำให้วางแผนทำการตลาดจีนออนไลน์ง่ายมากขึ้นอีกด้วย

 

แหล่งที่มา:

Cross-border e-commerce: ทางเลือกใหม่ของผู้ประกอบการไทยในโลกยุคดิจิทัล

การส่งออกผลไม้ไทยไปจีน (thaibizchina.com)

Cross-Border E-Commerce โอกาสของธุรกิจไทยในตลาดจีน (tap-magazine.net)

โดนใจคนจีน เพิ่มโอกาส E-commerce ไทย – ธนาคารกสิกรไทย (kasikornbank.com)

 

สนใจบริการของ S39 Digital Agency ติดต่อเรา

แชร์ :