การขยายธุรกิจสู่ตลาดต่างประเทศถือเป็นกลยุทธ์ก้าวสำคัญของแบรนด์ไทยยุคใหม่ที่ต้องการเติบโตอย่างยั่งยืนในระดับโลก โดยเฉพาะในยุคที่ Digital Platform และ E-Commerce เติบโตอย่างมีนัยยะสำคัญ ทำให้แบรนด์เข้าถึงกลุ่มลูกค้าในต่างประเทศได้ง่ายขึ้นกว่าที่เคย หนึ่งในขั้นตอนสำคัญของการเริ่มต้นธุรกิจในต่างประเทศคือการจดทะเบียนบริษัทอย่างถูกต้องตามกฎหมายของประเทศนั้น ๆ การเตรียมตัวให้พร้อมตั้งแต่ต้นจะช่วยให้การเปิดบริษัทใหม่ในต่างประเทศเป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัยทั้งในแง่กฎหมายและการดำเนินธุรกิจจริง
ทำไมต้องจดทะเบียนบริษัทในต่างประเทศ?
การจดทะเบียนบริษัทเป็นสิ่งสำคัญของแบรนด์ไทยที่ต้องการขยายตลาดไปยังระดับภูมิภาค (SEA: South East Asia) หรือระดับโลก (Global) การมีนิติบุคคลที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องในตลาดนั้น ช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินการได้อย่างเต็มรูปแบบ และแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการทำโฆษณาออนไลน์บนแพลตฟอร์มท้องถิ่น (Local) การเปิดบัญชีเพื่อรับชำระเงิน สามารถดำเนินธุรกรรมทางการเงินโดยไม่ต้องผ่านเอเจนซี่ สร้างความน่าเชื่อถือจากพาร์ทเนอร์หรือซัพพลายเออร์ในประเทศ ยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการ หรือจดเครื่องหมายการค้าในประเทศเป้าหมายได้ง่ายขึ้น รวมไปถึงการใช้ประโยชน์จากสิทธิพิเศษด้านภาษีและกฎหมายในบางประเทศ ทั้งหมดนี้ทำให้การจดทะเบียนบริษัทในต่างประเทศไม่ใช่แค่ทางเลือกแต่คือสิ่งสำคัญสำหรับแบรนด์ไทยที่ต้องการขยายศักยภาพและสร้างความยั่งยืนในตลาดต่างประเทศ
ธุรกิจแบบไหนที่ควรจดทะเบียนบริษัทในต่างประเทศ?
เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นว่า ธุรกิจแบบไหนบ้างที่ควรเริ่มต้นด้วยการจดทะเบียนบริษัทในต่างประเทศ มาดูประเภทธุรกิจที่มีแนวโน้มจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการจดบริษัท
-
ธุรกิจที่ต้องการทำโฆษณาในต่างประเทศ (Digital Marketing)
หากต้องการซื้อโฆษณาผ่านแพลตฟอร์มท้องถิ่นในประเทศเป้าหมาย เช่น จีน มาเลเซีย อินเดีย หรือฝั่งยุโรปและอเมริกา มีหลายแพลตฟอร์มที่มีข้อกำหนดให้บัญชีผู้ลงโฆษณาต้องเป็น Business Account ยกตัวอย่างเช่น ‘Douyin’ แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียจีน เป็น TikTok เวอร์ชั่นจีน มีผู้ใช้งานต่อเดือนกว่า 766 ล้านบัญชี ด้วยยอดผู้ใช้งานจำนวนมากขนาดนี้ แน่นอนว่าเหล่าแบรนด์ยิ่งอยากเอาตัวเองเข้าไปอยู่บนแพลตฟอร์ม การซื้อโฆษณาบนแพลตฟอร์มก็เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่จะช่วยซัพพอร์ตแบรนด์ไม่ว่าจะเป็นการสร้างการรับรู้หรือการเพิ่มยอดขาย อย่างไรก็ตามทาง Douyin ก็มีข้อกำหนดชัดเจนว่าบัญชีผู้ลงโฆษณาต้องเป็น Business Account เพื่อยืนยันตัวตนก่อนเผยแพร่ออกไป
ดังนั้นการมีบริษัทจดทะเบียนอย่างถูกต้องจะช่วยให้แบรนด์เข้าถึงฟีเจอร์โฆษณาเต็มรูปแบบ ซื้อโฆษณาได้โดยไม่ติดข้อจำกัดด้านบัญชีโฆษณา สำหรับแบรนด์ขนาดเล็กที่ยังไม่มีบริษัทในต่างประเทศ แบรนด์สามารถจ้างเอเจนซี่ที่ไว้ใจได้เป็นตัวแทนในการเปิดบัญชี (Authorized Account) อย่างไรก็ตามหากแบรนด์เป็นเจ้าของบัญชีเองจะช่วยให้การดำเนินงานรวดเร็วกว่า เพราะสามารถจัดการคอนเทนต์ การซื้อโฆษณาบนแพลตฟอร์มได้โดยตรง
-
ธุรกิจที่ต้องการทำ E-Commerce ต่างประเทศ
สำหรับแบรนด์ไทยที่ต้องการเจาะตลาด E-Commerce ต่างประเทศอย่างจริงจัง การจดทะเบียนบริษัทในประเทศเป้าหมายคือสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ยกตัวอย่างเช่น ประเทศจีน ถึงแม้ว่าจะมีโมเดลธุรกิจ CBEC (Cross-Border E-Commerce) ที่เอื้อให้บริษัทต่างชาติเข้ามาขายของให้ผู้บริโภคจีน โดยไม่ต้องจดทะเบียนบริษัทจีน อย่างไรก็ตามหากแบรนด์ต้องการตั้งฐานในจีนจริงจัง มองโอกาสในระยะยาว การจดทะเบียนบริษัทยังคงมีข้อได้เปรียบชัดเจน โดยเฉพาะในด้าน การควบคุมแบรนด์, ต้นทุน, ความน่าเชื่อถือ และการเข้าระบบในประเทศแบบเต็มรูปแบบ เนื่องจากแพลตฟอร์มท้องถิ่นยอดนิยมในจีน เช่น Alibaba, Pinduoduo, Taobao หรือแพลตฟอร์ม Social Commerce อย่าง Douyin Store และ Xiaohongshu Store (RedNote) กำหนดให้ผู้ขายต้องใช้บริษัทจีนในการยืนยันตัวตนและเข้าร่วมแคมเปญโปรโมชั่นต่าง ๆ บนแพลตฟอร์ม เหตุผลสำคัญที่แพลตฟอร์มจีนกำหนดเช่นนี้ คือเพื่อปกป้องสิทธิ์ของผู้บริโภคจีน ให้มั่นใจว่าจะได้รับสินค้าที่มีคุณภาพและสามารถติดต่อกับบริษัทได้หากเกิดปัญหา การมีบริษัทจดทะเบียนอย่างถูกต้องจึงช่วยสร้างความน่าเชื่อถือและเพิ่มโอกาสในการขายให้กับแบรนด์ไทยอย่างมาก
นอกจากนี้ การจดทะเบียนบริษัทในจีนยังช่วยให้แบรนด์สามารถลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และขอใบอนุญาตที่จำเป็น เช่น ใบอนุญาตนำเข้า รวมถึงใบอนุญาตเฉพาะทาง เช่น ใบอนุญาตนำเข้าอาหาร ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคจีนให้ความสำคัญอย่างมาก การมีใบอนุญาตครบถ้วนตามกฎหมายจีนจึงเป็นเครื่องยืนยันว่าสินค้าของแบรนด์ไทยได้รับมาตรฐานคุณภาพระดับเดียวกับสินค้าในประเทศเขา
อีกข้อได้เปรียบสำคัญคือ การจัดการระบบ Fulfillment ภายในประเทศ สามารถใช้บริการคลังสินค้าและขนส่งในจีนโดยตรง ลดต้นทุนและเวลาการขนส่งที่เกิดจากการส่งของข้ามประเทศ เพราะไม่ต้องจัดส่งข้ามประเทศทุกคำสั่งซื้อ
สุดท้ายคือ การทำธุรกรรมทางการเงินอย่างสะดวกและเร็วกว่าเดิม แบรนด์สามารถรับเงินจากลูกค้าได้ทันที และจ่ายเงินให้กับ Supplier หรือ Partner ได้โดยไม่ต้องพึ่งคนกลาง ลดค่าธรรมเนียมการโอนข้ามประเทศ
อย่างไรก็ตาม อีกประเด็นที่แบรนด์ต้องให้ความสำคัญเลยคือการจดเครื่องหมายการค้า (Trademark) หากเริ่มขายสินค้าในต่างประเทศโดยยังไม่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศนั้น ความเสี่ยงที่คู่แข่งจะนำชื่อแบรนด์เราไปจดก่อน แล้วเลียนแบบสินค้าอย่างถูกกฎหมายก็มีอยู่ไม่น้อย การจดบริษัทพร้อมจด Trademark ไปพร้อมกันจึงเป็นทางเลือกที่ควรวางแผนตั้งแต่เริ่มต้น
-
ธุรกิจ B2B ที่ต้องการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ
สำหรับธุรกิจที่มีโมเดล B2B (Business to Business) ไม่ว่าจะเป็นการขายส่งให้ดีลเลอร์ ส่งสินค้าให้ตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศ หรือร่วมมือกับพาร์ทเนอร์เพื่อขยายช่องทางการจัดจำหน่าย การจดทะเบียนบริษัทในประเทศปลายทางถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้การทำงานร่วมกับคู่ค้าต่างชาติเป็นไปอย่างราบรื่นและน่าเชื่อถือมากขึ้น การจดทะเบียนบริษัทช่วยให้การทำสัญญา การออกเอกสารทางการค้า และการทำธุรกรรมทางการเงินเป็นไปอย่างราบรื่นและถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนี้ยังช่วยให้เข้าถึงสิทธิประโยชน์ทางภาษีและข้อได้เปรียบด้านโลจิสติกส์ที่ช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงาน ทำให้แบรนด์ควบคุมกระบวนการนำเข้า-ส่งออกได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งพา Distributor หรือคนกลางเพียงอย่างเดียว
ในหลายประเทศ เช่น ประเทศจีนอนุญาตให้แบรนด์ไทยสามารถจดทะเบียนบริษัทรูปแบบ WFOE (Wholly Foreign-Owned Enterprise) คนไทยถือหุ้น 100% อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ให้สิทธิ์ในการดำเนินธุรกิจเต็มรูปแบบ แต่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของจีนอย่างเคร่งครัด
ขั้นตอนเบื้องต้นการจดทะเบียนบริษัทในต่างประเทศ (กรณีศึกษา ประเทศจีน)
การจดทะเบียนบริษัทในต่างประเทศ โดยเฉพาะในตลาดใหญ่อย่างจีน ถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญของแบรนด์ไทยที่ต้องการขยายธุรกิจสู่ระดับสากล ไม่ว่าจะเพื่อการส่งออก การทำ E-Commerce หรือสร้างความน่าเชื่อถือให้กับคู่ค้าระยะยาว การดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนตั้งแต่ต้น แม้ว่าแต่ละประเทศจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ซึ่งแต่ละขั้นตอนต้องอาศัยความเข้าใจในกฎหมายและกระบวนการของประเทศนั้น ๆ แต่โดยทั่วไปการจดทะเบียนเปิดบริษัทจะเริ่มต้นจาก
-
ขออนุมัติชื่อบริษัท (Company Name Pre-Approval)
ขั้นตอนแรกของการจดทะเบียนเปิดบริษัทจีนคือการยื่นขออนุมัติชื่อบริษัทกับหน่วยงานรัฐในจีน โดยควรเตรียมชื่อบริษัทไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 2–3 ชื่อ เพื่อใช้สำรองในกรณีที่ชื่อหลักซ้ำหรือไม่ผ่านเกณฑ์ ชื่อบริษัทจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์การตั้งชื่อของจีน เช่น ต้องระบุรูปแบบนิติบุคคล ชื่อกิจการ และภูมิภาคของการดำเนินงาน เช่น “Shanghai ABC Trading Co., Ltd.” เป็นต้น โดยกระบวนการตรวจสอบชื่อใช้เวลาประมาณ 7 วันทำการ เมื่อชื่อได้รับการอนุมัติแล้ว จึงสามารถนำชื่อนั้นไปยื่นเอกสารการจัดตั้งบริษัทอย่างเป็นทางการได้
เอกสารที่ต้องเตรียมเพื่อขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ (Business License) มีดังนี้
- แบบฟอร์มขอยื่นจดทะเบียนบริษัทต่างชาติ (Application Form for Establishment Registration of Foreign-Invested Enterprises)
- ข้อบังคับบริษัท (Articles of Association)
- ใบอนุมัติชื่อบริษัท (Pre-approval Notice of Company Name)
- สัญญาเช่าที่อยู่สำนักงาน (Virtual Address หรือ Physical Address)
- หนังสือรับรอง DBD (ภาษาอังกฤษหรือภาษาจีน)
- ข้อมูลผู้ถือหุ้นและกรรมการ
- เอกสารยืนยันตัวตนของผู้ถือหุ้น/กรรมการ/ตัวแทนทางกฎหมาย พร้อมสำเนาหนังสือเดินทาง
หลังยื่นเอกสารครบถ้วนและผ่านการตรวจสอบ จะได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ (Business License) ยืนยันว่าบริษัทของคุณได้รับการจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายจีน หลังได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจแล้ว จึงดำเนินการขั้นตอนอื่น ๆ เช่น ทำตราประทับบริษัท (Company seal), จดแบบธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange Registration), จดภาษี (Tax Registration), ลงทะเบียนประกันสังคม (Social Insurance & Housing Fund Registration) ต่อไปได้
-
เปิดบัญชีธนาคารและลงทะเบียนภาษี (Accounting & Bookkeeping)
เมื่อได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการเปิดบัญชีธนาคารเพื่อใช้ในการรับชำระเงินและทำธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ หลังจากนั้นต้องดำเนินการลงทะเบียนภาษี รวมถึงการลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และภาษีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
-
ขอใบอนุญาตนำเข้าสินค้า (Import License)
สำหรับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้า เช่น เครื่องสำอาง หรือสินค้าอุตสาหกรรมบางประเภท หลังจากได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจแล้ว จำเป็นต้องขอใบอนุญาตนำเข้าสินค้า (Import License) และลงทะเบียนสินค้ากับศุลกากรจีนก่อนจึงจะสามารถนำเข้าสินค้าได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยขั้นตอนนี้จะต้องยื่นเอกสารต่าง ๆ เช่น ข้อมูลบริษัท รายละเอียดสินค้า ใบรับรองมาตรฐาน
ในกรณีที่สินค้านั้นเป็นอาหารหรือสินค้าเฉพาะทาง อาจต้องขอใบอนุญาตเพิ่มเติม เช่น Food Business License ก่อนยื่นนำเข้าสินค้า การมีใบอนุญาตที่ถูกต้องจะไม่เพียงแต่ช่วยให้สินค้าของคุณผ่านด่านศุลกากรได้รวดเร็วขึ้น แต่ยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในจีนว่าแบรนด์ของคุณได้รับการรับรองมาตรฐานจากภาครัฐแล้วอย่างถูกต้อง
โดยกระบวนการและระยะเวลาในการอนุมัติขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าแต่โดยทั่วไปแล้วจะใช้ระเวลา 20-30 วันทำการ
-
ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (Trademark)
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าถือเป็นขั้นตอนสำคัญมากสำหรับแบรนด์ที่ต้องการขยายตลาดไปต่างประเทศ โดยเฉพาะในตลาดที่ใช้หลักใครยื่นก่อนมีสิทธิ์ก่อนอย่างจีน ซึ่งหมายความว่าแม้จะเป็นเจ้าของแบรนด์แต่ไม่ได้ยื่นจด ก็อาจมีคนอื่นนำชื่อแบรนด์ไปจดและถือสิทธิ์อย่างถูกกฎหมายได้ ซึ่งโดยทั่วไปการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะใช้เวลาประมาณ 12–18 เดือน ดังนั้นหลังจากได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจแล้ว ควรดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศนั้นให้เร็วที่สุด เพื่อปกป้องแบรนด์และทรัพย์สินทางปัญญาของแบรนด์
นอกจากการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยตรงในแต่ละประเทศแล้ว การจดเครื่องหมายการค้าผ่านระบบพิธีสารมาดริด (Madrid Protocol) ยังเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับแบรนด์ที่ต้องการปกป้องแบรนด์ในหลายประเทศพร้อมกัน สามารถยื่นคำขอได้ครั้งเดียว และเลือกประเทศที่ต้องการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าได้พร้อมกันหลายประเทศ ลดความซ้ำซ้อนของขั้นตอนและค่าใช้จ่ายในการยื่นแยกประเทศ อย่างไรก็ตามอาจต้องพิจารณาข้อจำกัด เช่น แต่ละประเทศมีสิทธิ์ปฏิเสธคำขอได้ตามกฎหมายของตนเอง
ในขั้นตอนนี้ควรดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญหรือตัวแทนที่มีประสบการณ์เพื่อเพิ่มโอกาสในการอนุมัติเครื่องหมายการค้าและลดความล่าช้า
ข้อควรพิจารณาเมื่อตั้งบริษัทในต่างประเทศ
เมื่อตั้งบริษัทในต่างประเทศ มีข้อควรพิจารณาหลัก ๆ ที่แบรนด์ควรให้ความสำคัญดังนี้
- รูปแบบบริษัท (Entity Type) แต่ละประเทศมีรูปแบบนิติบุคคลไม่เหมือนกัน เช่น WFOE ในจีน, LLC ในสหรัฐฯ, หรือ Pte Ltd ในสิงคโปร์ ซึ่งแต่ละแบบมีผลต่อสิทธิ์การถือหุ้น การบริหารจัดการ การเสียภาษี และข้อกำหนดด้านทุนจดทะเบียนที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน การเลือกโครงสร้างรูปแบบบริษัทที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญในการวางรากฐานธุรกิจให้มั่นคงและสอดคล้องกับกฎหมายท้องถิ่น บางประเทศให้ต่างชาติถือหุ้น 100% ได้ ขณะที่บางแห่งคุณต้องมีพาร์ทเนอร์ท้องถิ่นตามกฎหมาย หรือจำกัดสัดส่วนการถือหุ้นของชาวต่างชาติไม่เกิน 49%
- ภาษีและการเลี่ยงภาษีซ้อน ควรศึกษาว่ามีภาษีอะไรบ้าง (เช่น VAT, ภาษีนิติบุคคล, ภาษีเงินปันผล) รวมถึงการมีสนธิสัญญาเลี่ยงภาษีซ้อน (DTA) กับประเทศไทยหรือไม่ เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีซ้ำซ้อนที่อาจกระทบต่อผลกำไรของธุรกิจ
- ที่อยู่จดทะเบียนบริษัท การเลือกใช้ที่อยู่เสมือนจริง (Virtual Address) หรือ ที่อยู่จริง (Physical Address) ควรขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของลักษณะธุรกิจ ธุรกิจที่เน้นการส่งออก นำเข้าสินค้า หรือดำเนินงานแบบไม่มีความจำเป็นต้องมีหน้าร้านหรือพนักงานประจำในประเทศปลายทาง การเลือกใช้ที่อยู่เสมือนจริง ถือเป็นทางเลือกที่คุ้มค่า เพราะช่วยลดภาระต้นทุนค่าเช่าสำนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าบำรุงอื่น ๆ ที่มาพร้อมกับที่อยู่จริง
- ใบอนุญาตเพิ่มเติม หากเป็นแบรนด์ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการเฉพาะทาง เช่น อาหาร เครื่องสำอาง อาจต้องยื่นขอใบอนุญาตเฉพาะทางเพิ่มเติม เช่น Food Business License
จดทะเบียนบริษัทต่างประเทศ ง่าย ครบ จบในที่เดียว กับ S39
หากคุณกำลังวางแผนขยายธุรกิจไปต่างประเทศ การจดทะเบียนบริษัทที่ถูกต้องคือจุดเริ่มต้นที่สำคัญ และยิ่งแบรนด์มีทีมที่เข้าใจกฎหมายท้องถิ่น ระบบภาษี และขั้นตอนการยื่นเอกสารแบบครบวงจร ก็ยิ่งช่วยลดความยุ่งยาก และทำให้แบรนด์เข้าสู่ตลาดใหม่ได้อย่างมั่นใจ
S39 Digital Agency พร้อมเป็นพาร์ทเนอร์ในการจดทะเบียนบริษัทในต่างประเทศ ด้วยบริการให้บริการจดทะเบียนบริษัทต่างประเทศแบบ One-Stop Service โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์กว่า 10 ปี ดูแลครบทุกขั้นตอนอย่างใกล้ชิดในทุกรายละเอียด ไม่ว่าจะเป็นการให้คำปรึกษาเบื้องต้น การเตรียมเอกสารที่ถูกต้องตามกฎหมาย การขออนุมัติชื่อบริษัท การยื่นเอกสารจัดตั้ง การเปิดบัญชีธนาคาร การลงทะเบียนภาษี รวมถึงการขอใบอนุญาตที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้คุณสามารถเปิดประตูสู่ตลาดใหม่ได้อย่างมั่นใจและประหยัดเวลา
- บริการครบวงจร จบทุกขั้นตอนในที่เดียว
- ง่ายและรวดเร็ว ลดความยุ่งยาก ประหยัดเวลา
- ทีมงานผู้เชี่ยวชาญ ประสบการณ์กว่า 10 ปี พร้อมให้คำแนะนำ
- ครอบคลุมทุกประเทศ รองรับหลากหลายตลาดทั่วโลก
📞 02-248-3068 | 📧 [email protected]