Cross Border E-commerce โอกาสใหม่สำหรับผู้ประกอบการไทยที่อยากส่งออกไปจีน

Table of Contents

คำว่า “Cross Border E-commerce หรือ การซื้อสินค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน” สำหรับผู้ประกอบการไทย อาจจะไม่รู้จักและไม่เข้าใจโมเดลธุรกิจนี้มากนัก เนื่องจากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ส่งออกจากบ้านเราส่วนมากเป็นวัตถุดิบต้นทาง (Raw material) เป็นหลัก เช่น พืชผักผลไม้สด/แปรรูป วัตถุดิบจากสัตว์และธรรมชาติ เพื่อเอาไปเป็นส่วนประกอบในการผลิตสินค้าตัวเอง และสินค้าไทยที่มีชื่อเสียงต่างๆ มักถูกคนจีนซื้อเหมาร้านออฟไลน์ ตั้งแต่ในประเทศไทยเพื่อขนไปขายต่อที่ประเทศจีน จึงทำให้การซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ข้ามพรมแดนไทย-จีน ยังไม่ได้เติบโตเท่าไหร่

 

Cross Border E-commerce คืออะไร?

Cross Border E-commerce พูดง่ายๆ ก็คือ การซื้อ-ขายสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ข้ามพรมแดน และเกิดการนำเข้าส่งออกผ่าน third party platform ของต่างชาติที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก เช่น Amazon, eBay, Alibaba, Lazada Tmall และ Taobao ซึ่งมีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ใช้แพลตฟอร์มดังกล่าว ยิ่งในยุคปัจจุบันเราจะพบว่า มีผู้ประกอบไทยจำนวนมากนิยมนำเข้าสินค้าใหม่ๆ ผ่านการสั่งซื้อบน Cross Border E-commerce ของจีน แล้วนำไปใส่ Branding ทีหลัง เนื่องจากราคาสินค้าและต้นทุนการผลิตถูกกว่าผลิตเองในประเทศไทย

Cross Border E-commerce
แพลตฟอร์มCross Border E-commerce – Tmall

 

หลายๆ คนอาจจะคิดว่า “ต้องเป็นแบรนด์ระดับ international หรือแบรนด์ภายในประเทศที่สร้างแพลตฟอร์มเท่านั้นหรือเปล่า ถึงจะสามารถเปิดร้านค้าบนแพลตฟอร์ม Cross Border E-commerce ได้?” ไม่จริงเลย แบรนด์ไทยก็สามารถเข้าไปเปิดหน้าร้านค้าได้ เพียงแค่ต้องทำความเข้าใจกระบวนการเตรียมเอกสารและกฎเกณฑ์ข้อบังคับต่างๆของจีน มีความพร้อมในการผลิตเพื่อรองรับความต้องการตลาดขนาดใหญ่ รวมไปถึงการมีทีมงานสำหรับการทำ Marketing/E-commerce วางแผนวิเคราะห์กลยุทธ์การขายสินค้าของตัวเอง

 

กระบวนการส่งออกแบบ Cross Border E-commerce

Cross Border E-commerce
กระบวนการตั้งแต่ต้น-ปลายทางของ Cross Border E-commerce

 

อย่างที่ทราบกันดีถึงผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ส่งผลให้ E-commerce ทั่วโลกเติบโตอย่างรวดเร็ว ภายหลังยังทำให้บทบาทของ Cross Border E-commerce มีความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ประเทศจีน” มหาประเทศแห่งการทำแพลตฟอร์มและธุรกรรมออนไลน์ จากช่วงวิกฤติดังกล่าวทำให้ Alibaba ผู้ประกอบการ Cross Border E-commerce รายใหญ่ของโลกคาดว่า สามารถกวาดเงินในปี 2562 มูลค่าราว 4 แสนล้านดอลลาร์

 

ข้อดี-ข้อเสียของ Cross Border E-commerce

การส่งออกแบบ Cross Border E-commerce เป็นนโยบายใหม่ที่รัฐบาลจีนเปิดโอกาสเพื่อดึงดูดให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงภายในประเทศมากขึ้น และยังช่วยให้ผู้ประกอบการได้รับประสบการณ์กับตลาดจีนก่อนตัดสินใจขายสินค้าออฟไลน์ระยะยาว

  • ข้อดี ไม่ค่อยมีความซับซ้อนเรื่องเอกสาร ใช้เวลาดำเนินการน้อยกว่า ประหยัดต้นทุนมากว่าการส่งออกแบบปกติ เนื่องจากได้รับการยกเว้นค่าใช้จ่ายบางส่วน เช่น ค่าเช่าโกดังสินค้า (เขตปลอดอากรของศุลกากร) ไม่ต้องเสียภาษีศุลกากร ไม่ต้องขอใบอนุญาตนำ และสินค้าบางประเภทไม่จำเป็นต้องขออย.ก็สามารถขายสินค้าบนแพลตฟอร์ม Cross Border E-commerce ได้เลย

 

  • ข้อเสีย จะต้องจำหน่ายสินค้าเฉพาะบนแพลตฟอร์ม Cross-Border e-Commerce เท่านั้น

 

สินค้าที่ไม่ควรขายบนแพลตฟอร์ม Cross Border E-commerce

  1. สินค้าที่มีความหลากหลายเกินไป

เช่น เสื้อผ้า เนื่องจากจะต้องมีหลายไซซ์ S M L XL หลาย Collection คอยอัพเดตอยู่ตลอดตามเทรนใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น การตลาดที่ความผันผวนสูงตามแนวโน้มกระแสนิยมของผู้บริโภค อาจส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงอีกด้วย

  1. สินค้าที่ไม่จุดเด่น ไม่มีเอกลักษณ์

เช่น อาหารหรือขนมแปรรูปธรรมดาทั่วไป หรือของที่สามารถหาได้ตามห้างทั่วไปในต่างประเทศ เนื่องจากมีแบรนด์ท้องถิ่นครองตลาดอยู่แล้ว ลูกค้าอาจจะยังไม่ไว้วางใจสินค้านำเข้ามากนัก จำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเข้ามาช่วยสร้างจุดขายและความน่าเชื่อถือให้กับสินค้า

  1. ผัก/ผลไม้สด

สินค้าประเภทดังกล่าวไม่สามารถส่งออกแบบ Cross Border E-commerce เนื่องจากเป็นกลุ่มสินค้าเฉพาะ เจ้าของแบรนด์จะต้องมีประจำตัวผู้ส่งออกกับกรมการค้าระหว่างประเทศ และใบอนุญาตต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการส่งออกจากประเทศไทย ทั้งนี้จะต้องยืนยันแสดงตัวตนผู้นำเข้าและเอกสารใบอนุญาตการนำเข้าผลไม้จากฝั่งจีนอีกด้วย

 

โอกาสทองสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการส่งออกรูปแบบใหม่

ปัจจุบัน การค้าในรูปแบบ Cross-Border E-Commerce ของจีน มีการขยายตัวและมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยตัวเลขสถิติปี 2564 ของศุลกากรจีนชี้ว่า การนำเข้า-ส่งออกผ่าน Cross Border E-commerce มีมูลค่าสูงถึง 1.98 ล้านล้านหยวน หรือประมาณ 9.9 ล้านล้านบาท ซึ่งขยายตัวขึ้นร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยเป็นมูลค่าส่งออกจำนวน 1.44 ล้านล้านหยวน หรือประมาณ 7.2 ล้านล้านบาท ขยายตัวขึ้นร้อยละ 24.5 และเป็นมูลค่านำเข้าจำนวน 540,000 ล้านหยวน หรือประมาณ 2.7 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27 ของมูลค่า Cross Border E-commerce ทั้งหมด

 

ภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ยังกล่าวอีกว่า “แนวโน้มการเติบโตของ Cross-Border E-Commerce ในจีน จึงถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับธุรกิจไทยในการขยายตลาดเพื่อส่งออกสินค้ามายังจีนมากขึ้นด้วย โดยผู้ประกอบการสามารถเริ่มต้นจากการศึกษากฎระเบียบและวิธีการเข้าถึงการให้บริการ Cross Border E-commerce ของจีน ตลอดจนรายละเอียดเกี่ยวกับผู้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์ ข้อมูลตลาดออนไลน์ของจีน รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่มาใช้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์”

 

สรุปหัวใจสำคัญของ Cross Border E-commerce

จากการคาดคะเนของศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ตลาด Cross Border E-commerce ของจีนจะยังมีแนวโน้มเติบโตได้อีกมาก และมีการขยายตลาดครอบคลุมพื้นที่ภายในประเทศมากขึ้น โดยมีปัจจัยหนุนสำคัญ ได้แก่ การสนับสนุนของรัฐบาลจีนในการพัฒนาและขยายโครงข่ายโทรคมนาคม ระบบโลจิสติกส์ และการเข้ามามีบทบาทดูแลการซื้อขายออนไลน์

“การเข้าใจพฤติกรรมและความต้องการลูกค้าชาวจีน” จึงเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ ที่สำคัญในการสร้างข้อได้เปรียบทางการตลาด เพื่อสามารถพัฒนาสินค้าของตัวเองให้มีคุณภาพมากขึ้น และยังทำให้วางแผนทำการตลาดจีนออนไลน์ง่ายมากขึ้นอีกด้วย

 

แหล่งที่มา:

Cross-border e-commerce: ทางเลือกใหม่ของผู้ประกอบการไทยในโลกยุคดิจิทัล

การส่งออกผลไม้ไทยไปจีน (thaibizchina.com)

Cross-Border E-Commerce โอกาสของธุรกิจไทยในตลาดจีน (tap-magazine.net)

โดนใจคนจีน เพิ่มโอกาส E-commerce ไทย – ธนาคารกสิกรไทย (kasikornbank.com)

 

สนใจบริการของ S39 Digital Agency ติดต่อเรา

Kattaleeya Madsuk
Kattaleeya Madsuk

Digital Marketing and Communication

Person who is highly motivated with cats and dogs

Kattaleeya Madsuk
Kattaleeya Madsuk

Digital Marketing and Communication

Person who is highly motivated with cats and dogs

Share :

Related Post