สำหรับประเทศจีน ปัจจุบันอาจจะพูดได้ว่า การตลาดจีนออนไลน์สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าคนจีนได้ดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียจีน เนื่องจากในอดีตแทบจะไม่มีพื้นที่ให้เล่าเรื่องราวสิ่งต่างๆ เกี่ยวกับสินค้าหรือการบริการเท่าไหร่ ผู้ประกอบการหรือเจ้าของแบรนด์ต้องวิ่งเข้าหาผู้ผลิตและจำหน่ายสื่อเช่น หนังสือพิมพ์ นิตยาสาร วิทยุ หรือ ทีวี เพื่อจ่ายเงินซื้อพื้นที่โฆษณาแบรนด์ของตัวเอง ซึ่งยังโดนจำกัดระยะเวลาและจำนวนคำโฆษณา การเกิดขึ้นของโซเชียลมีเดียจีนนั้น จึงไม่ได้เป็นแค่ “การสร้างชุมชนในพื้นที่ออนไลน์” แต่โซเชียลมีเดียจีนยังกลายเป็น “การสร้างพื้นที่สื่อสารระหว่างแบรนด์และผู้บริโภคแบบออนไลน์”
ด้วยความที่มีจำนวนประชากรจำนวนมากและระยะทางภูมิศาสตร์ โซเชียลมีเดียจีน คือ สิ่งที่คนจีนนิยมมักใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารในการส่งข้อความหรือติดต่อสื่อสารกันในชีวิตประจำวัน ภายหลังในช่วง 10 ปีนี้โซเชียลมีเดียจีนถือว่าเติบโตอย่างก้าวกระโดด มีการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่มาให้ผู้ใช้งานได้สนุกสนานมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นในปัจจุบันยังมีการทำ ePayment E-commerce และ Booking Service เข้าตอบสนองด้านความสะดวกสบาย จนทำให้บางแพลตฟอร์มสามารถทำได้เกือบทุกอย่างภายในแอปเดียว ซึ่งการแข่งขันในวงการโซเชียลมีเดียจีนที่เข้มข้นมากขึ้นนั้นล้วนมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้งานอยู่ในแพลตฟอร์มตัวเองให้นานที่สุด
โซเชียลมีเดียจีนยอดนิยมที่แบรนด์ชอบเข้าไปทำการตลาดออนไลน์
โซเชียลมีเดียจีนชื่อดังจากบริษัทชั้นนำด้านอินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีอย่าง “Tencent” สถิติในปัจจุบันมีจำนวนผู้ใช้งานมากกว่า 1.2 พันล้านบัญชีผู้ใช้งาน นับตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกปี 2011 WeChat ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะในประเทศจีน จากอดีตแพลตฟอร์มส่งข้อความ ตอนนี้ได้กลายเป็น “Super app” ไฮบริดโซเชียลมีเดียและการบริการด้านต่างๆที่ไม่เหมือนใคร ทั้งยังเป็นหนึ่งในไม่กี่แพลตฟอร์มที่ได้รับอนุญาตให้เป็นตัวกลางสำหรับการสื่อสารระหว่างภายในประเทศจีนและประเทศอื่นในสากล
WeChat ยังรองรับฟีเจอร์พื้นฐานทั่วไปคล้ายๆ กับโซเชียลมีเดียฝั่งยุโรปและอเมริกา เช่น การแชทด้วยเสียง การส่งข้อความรูปภาพ วิดีโอคอล คุณยังสามารถแชร์ตำแหน่งปัจจุบันแบบเรียลไทม์ เล่นมินิเกม และโพสต์ไปยัง Story (แต่ภายใน WeChat จะใช้ชื่อว่า “moments” ) อีกทั้งภายใน WeChat ยังมี Mini-Programs และทางลัดในการให้บริการด้านอื่นๆ เช่น Card Repay รับชำระค่าใช้จ่ายบัตรเครดิต / Health Care ติดต่อจองคิวโรงพยาบาล / Insurance การซื้อประกันการคุ้มครอง / Travel & Transportation การจองโรงแรมและซื้อบัตรการเดินทางสาธารณะ และ Third Party Service บริการอื่นๆ เช่น ซื้อของใน Tmall Taobao หรือ จองห้องแบบ Airbnb
Sina Weibo
โซเชียลมีเดียจีนยอดนิยมอันดับ 2 ที่ครองใจวัยรุ่นจีนที่เกิดจากบริษัท Sina และ Tencent ร่วมมือกัน ปัจจุบันมีจำนวนผู้ใช้งานมากถึง 573 ล้านบัญชี ภายหลังไม่นานมานี้มีคนไทยหลายคนสมัครเข้าไปที่ติดตามนักแสดงหรือศิลปินจีนที่ตนเองชื่นชอบ หลายคนมักจะบอกว่า Weibo เหมือน Twitter เนื่องจากทำได้เพียงส่งข้อความสั้นๆ จำกัดการพิมพ์ได้แค่ตัวอักษร 140 ตัว เหมือนกัน และเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างโพสและแสดงความคิดเห็นแบบสาธารณะ ทำให้เราได้สำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้งานอื่นเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ซึ่งทำให้แพลตฟอร์มสามารถสร้าง Community ง่ายมากกว่า WeChat เสียอีก
Weibo มักถูกใช้เป็นโซเชียลมีเดียจีนและเครื่องมือทางการตลาดแบบ Tie-in ผ่าน KOLs หรือ นักร้อง/นักแสดง อยู่เสมอ เนื่องจากมียอดจำนวนผู้ติดตาม (Follower) มหาศาล บางคนมียอดทะลุมากกว่า 10 ล้านผู้ติดตาม อย่าง “หวัง อี๋ป๋อ” นักแสดงหนุ่มหล่อพระเอกซีรีส์จีนจากปรมาจารย์ลัทธิมาร มีผู้ติดตาม 40 ล้านคน
แต่หากแบรนด์ต้องการจะไปสร้าง Account ทางการบนโซเชียลมีเดียจีน อย่าง Weibo เพื่อเป็นช่องทางสื่อสารและได้รับการ Verified ด้วยวัตถุประสงค์ทางการตลาดอาจมีความซับซ้อนมากกว่าการสมัครบัญชีผู้ใช้งาน ทั่วไป เพราะจะต้องยืนยันส่งเอกสารสำคัญให้กับทาง Weibo โดยเฉพาะ แต่ปัจจุบันเริ่มมีตัวแทนหรือเอเจนซี่ที่ช่วยดำเนินการเรื่องดังกล่าวให้ทั้งหมดด้วยนะ แอบกระซิบว่า S39 Digital Agency ก็รับให้บริการ แบรนด์ไหนสนใจ สามารถ ติดต่อเรา ได้เลย
Doyin หรือ TikTok เวอร์ชั่นจีน
โซเชียลมีเดียจีนน้องใหม่มาแรงในช่วงโควิดที่รู้จักกันส่วนใหญ่ในนาม “TikTok” แต่ทุกคนรู้ไหม? แพลตฟอร์มสร้างคลิปวิดีโอ TikTok ที่คนไทยและสากลกำลังนิยมใช้งานกันอยู่นั้น มันคือคนละตัวกับที่คนจีนใช้เลย ถ้าจะพูดถึงแพลตฟอร์มที่มีแต่คนจีนใช้งานจะต้องเรียกว่า “โตว่อิน” (Douyin หรือ 抖音) เท่านั้น! ถือว่าเป็นกลยุทธ์อันชาญฉลาดของบริษัทแม่ Beijing Bytedance Technology ที่ดีไซน์ให้ TikTok สามารถใช้ได้ทั้งภายในประเทศจีนและต่างประเทศ ในไตรมาสแรกของปี 2018 โตว่อินมียอดการดาวน์โหลดสูงที่สุดใน iOS App Store โดยมียอดการดาวน์โหลดสูงถึง 45.8 ล้านครั้ง ความโดดเด่นของ “โตว่อิน” ที่แตกต่างจากโซเชียลมีเดียจีนอื่นๆ คือ เป็นแหล่งรวบรวมไอเดียความคิดสร้างสรรค์และตัดต่อคลิปวิดีโอเป็นเรื่องง่ายดายมากขึ้นผ่านฟีเจอร์ต่างๆ เช่น การแต่งภาพ ใส่เพลง แอนนิเมชั่น เอฟเฟกต์ ทำให้ผู้ใช้สามารถสร้างคลิปวิดีโอที่แสดงตัวตน แชร์คลิปวิดีโอให้แก่เพื่อน และล่าสุดยังสามารถไลฟ์สตีมขายสินค้าหรือพูดคุยกับผู้ติดตามได้อีกด้วย
XiaoHongshu
หรือที่รู้จักกันในนาม Little Red book โซเชียลมีเดียจีนยอดนิยมของสาวจีนที่มีความสนใจด้านแฟชั่น ความงาม การท่องเที่ยว เครื่องสำอาง และเทรน DIY โดยบริษัท Xiaohongshu Network Technology ที่เปิดให้ใช้งานมาตั้งแต่ปี 2013 โดยเน้นให้เป็นแพลตฟอร์มรีวิวสินค้าและแบ่งปันประสบการณ์ จึงทำให้เติบโตเร็วมากในยุคนั้น โดยมีจำนวนผู้ใช้งานรายเดือน (Monthly Active User) เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าระหว่างสิ้นปี 2017 ถึงกลางปี 2018 มากถึง 30 ล้านคน ในเวลาต่อมา Xiaohongshu เริ่มบุกเบิกขอบเขตของการเป็น Social Commerce หมายถึง การรวมตัวกันของ Social Media และ E-Commerce ในแพลตฟอร์มเดียวกัน ยิ่งทำให้แบรนด์หรือสินค้ามีโอกาสเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายขึ้น การเปลี่ยนทิศทางดังกล่าวยิ่งตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้ใช้งานสาวจีนที่สนใจและต้องการสินค้า จนไตรมาส 1 ปี 2023 มีผู้ใช้งานเพศหญิงเพิ่มมากขึ้น 80%
สิ่งที่ทำให้ XiaoHongshu แตกต่างจากโซเชียลมีเดียจีน หรือร้านค้าอีคอมเมิร์ซ อื่นๆ คือ การวางตำแหน่งและกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสำหรับการตลาดจีนออนไลน์ ในแพลตฟอร์มนี้คือ กลุ่มวัยรุ่นสาว GenZ และวัยทำงาน เพศหญิง อายุระหว่าง 18-35 ปี อาศัยอยู่ในเมือง โดยเฉพาะเมืองใหญ่ อาทิ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ แม้กระทั่งนักแสดงหญิงชื่อดังของจีน อย่าง ฟ่านปิงปิง เจียงซูอิ่ง และหลินยุนก็เป็นหนึ่งในสมาชิกแพลตฟอร์มนี้เช่นกัน ส่งผลให้ XiaoHongshu ขึ้นแท่นเป็นแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานในแต่ละเดือนจะมีลูกค้ากว่า 75 ล้านบัญชีเข้าไปจับจ่ายซื้อสินค้าคิดเป็นมูลค่ากว่า 100 ล้านหยวน
แหล่งที่มา:
What Is WeChat? the Popular Messaging App, Explained (businessinsider.com)
Douyin ช่องทางการตลาดรูปแบบใหม่บนแอปพลิเคชัน (thaibizchina.com)
Chinese social commerce unicorn xiaohongshu raises us300-million (scmp.com)